วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีแสดงผลข้อมูล

เทคโนโลยีแสดงผลข้อมูล
หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผลคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ

1. หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy)หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ








จอภาพ (Monitor)ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมาก เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (Pixel) ถ้ามีพิกเซลจำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือจอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากจอแอลซีดี (Liquid Crystal Display) นิยมใช้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา น้ำหนักเบาและกินไฟน้อยกว่าจอภาพซีอาร์ที แต่มีราคาสูงกว่า











อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector)เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน อุปกรณ์ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (OverHead Projector) ธรรมดา









อุปกรณ์เสียง (Audio Output)หน่วยแสดงเสียง ซึ่งประกอบขึ้นจาก ลำโพง (Speaker) และการ์ดเสียง (Sound card) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทำงาน หรือให้เครื่องคอมพิวเตอร์รายงานเป็นเสียงให้ทราบเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ











2.หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy)หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น เครื่องพิมพ์









1.เครื่องพิมพ์อักษร (Character printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ดีดที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งตัวอักษรเท่านั้น ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกสร้างขึ้นจากจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก จึงสามารถเรียกอีกอย่างว่า เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot matrix printer)


2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Non impact printer) ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี ซึ่งทำให้พิมพ์ได้เร็วและคมชัดกว่าชนิดตอก พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและกราฟฟิก รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถพิมพ์กระดาษสำเนา (Copy) ได้

http://ton55.blogspot.com/2008_07_01_archive.html

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีของอาคารอัจฉริยะ

เทคโนโลยีอาคารอัจริยะ




เป็นการผสมผสานการทำงานของระบบต่างๆ ระหว่าง ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (office automation) ระบบสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication)และระบบอาคารอัตโนมัติ (Building automation)






1. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (office automation)



เป็นระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะเป็นระบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล นำมาเชื่อมต่อการทำงานเข้าด้วยกันจนกลายเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)






2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication)




ระบบที่สองนี้ นับเป็นหัวใจหลักประการหนึ่งของระบบอาคารอัจฉริยะ ก็ว่าได้สำหรับระบบสื่อสารภายในอาคารอัจฉริยะ จะมีความล้ำหน้ากว่าอาคารสำนักงานโดยทั่วๆ ไป (ที่มีเพียงการสื่อสารด้วยโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว)








3. ระบบอาคารอัตโนมัติ (Building automation)



ระบบอาคารอัตโนมัติ เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของอาคารโดยตรง แบ่งเป็นระบบควบคุม อาคารระบบรักษาความปลอดภัย การจัดสภาพแวดล้อมในอาคาร และระบบโครงสร้างอาคาร ซึ่งควบคุมการทำงานโดยคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น





วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สรุปหลักเกณฑ์การพิจารณาและตัดสินใจในการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้

เมื่อพิจารณาถึงผลประโยชน์ ความหรูหรา และทันสมัยของสำนักงานอัตโนมัติแล้ว การตัดสินใจนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้นั้นจะสร้างระบบสำนักงานอัตโนมัติคงต้องเป็นหน้าที่ของบุคคลดังต่อไปนี้
1.ผู้ขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มักจะให้บริการด้านการให้คำปรึกษาหรือเป็นผู้จัดตั้งระบบโดยไม่คิดมูลค่า
2.ทีมงานเฉพาะกิจของบริษัท บริษัทที่ต้องการมีสำนักงานอัตโนมัติอาจจัดตั้งทีมงานขึ้นมาเองเพื่อทำการวิจัยด้านนี้โดยเฉพาะและควรมีพนักงานที่มีความชำนาญด้านการจัดการข้อมูล
3.ที่ปรึกษา บางบริษัทไม่มีพนักงานที่มีความชำนาญพอที่จะจัดตั้งทีมงานขึ้นเองได้ก็จะต้องอาศัยที่ปรึกษาภายนอกบริษัท
4.ทีมงานเฉพาะกิจร่วมกับที่ปรึกษา