วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประเทศภูฎาน


สำหรับเมืองไทยเกิดกระแสภูฏานฟีเวอร์(อย่างรุนแรง)หลังเจ้าชายจิกมเเซอร์ นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรภูฏาน เสด็จมาเยือนประเทศไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ60ปีในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาสาวไทยหลายๆคนนอกจากจะกรี๊ดสลบแล้ว ยังฝันใฝ่อยากจะเที่ยวภูฏานสักครั้ง ซึ่งถึงแม้ว่าเจ้าชายจิกมีจะเสด็จกลับไปนานแล้วแต่กระแสการ(อยาก)ไปเที่ยวภูฏานของคนไทย(โดยเฉพาะสาวๆ)ก็ยังคงฮิตติดลมบนไม่สร่างซาในทริปนี้ผมจึงขอพาคุณผู้อ่านไปสัมผัสกับ ภูฏาน ดินแดนที่หลายๆคน ยกให้เป็นดัง"สวรรค์บนพื้นพิภพ"ที่หากใครได้ไปเยือนสักครั้งก็จะคงความประทับใจไปตราบนานเท่านาน..."ทิมพู"เมืองหลวงรวยความสุทิมพู(Thimpu)คือเมืองหลวงของภูฏานในปัจจุบัน(อยู่ห่างจากเมืองปาโรศูนย์กลางทางการบินหนึ่งเดียวของภูฏานประมาณ 65 กิโลเมตร) ที่พระเจ้าจิกมี ดอร์จิ วังชุก กษัตริย์องค์ที่ 3 ย้ายมาจากเมืองหลวงเก่าคือปูนาคา ในปี พ.ศ. 2495

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อทางการราชอาณาจักรภูฏาน (The Kingdom of Bhutan) ที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกเทือเขาหิมาลัย มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับธิเบต (สาธารณรัฐประชาชนจีน)และอาณาเขตด้านอื่นติดกับอินเดีย ไม่มีทางออกสู่ทะเล พรมแดนด้านติดต่อกับอินเดียความยาว 605 กิโลเมตร และ พรมแดนติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีนยาว 470 กิโลเมตร

ภูมิประเทศ
ประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อนมีพื้นที่ราบและทุ่งหญ้าระหว่างหุบเขาพื้นที่ต่ำสุดสูงกว่าระดับน้ำทะเล 970 ฟุต พื้นที่สูงสุดอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 17,553 ฟุต ภูมิอากาศสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันไปตามแต่ละภาคและระดับความสูงในพื้นที่ตอนบนด้านติดกับเทือกเขาหิมาลัยอากาศจะหนาวเย็นตลอดปีตอนกลางของประเทศอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว(ตุลาคม-มีนาคม)ค่อนข้าง
ร้อนในฤดูร้อน(เมษายน-กันยายน) ส่วนทางตอนล่างของประเทศซึ่งเป็นที่ ราบอากาศจะร้อนชื้น


ข้อมูลสำคัญ
1
. เป็นประเทศ Land Lock ไม่มีชายแดนติดกับทะเล
2. มีศักยภาพที่ดีในด้านการท่องเที่ยว
3. สนใจให้ไทยเข้าไปประมูลงานการสร้างถนนสาธารณูปโภค และสินค้าไทยได้รับความนิยมมากในภูฏา
4. ชาวภูฏานมีทัศนคติที่ดีกับไทย นิยมเดินทางมาไทยเพื่อจับจ่าย รักษาตัวและศึกษาในไทย
5. มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจเช่นเดียวกับไทย


สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
ภูฏานยังคงรักษารูปแบบทางวัฒนธรรมของตัวเองไว้ได้อย่างดี รัฐบาลรณรงค์ให้ชาวภูฏานใส่ชุดประจำชาติของตน ซึ่งสามารถเห็นชาวภูฏานใส่ชุดประจำชาติของตนเป็นชุดประจำวัน นอกจากนี้ สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์เช่น ป้อมโบราณ บ้านแบบโบราณ ยังคงมีอยู่ให้เห็นทั่วไป และมีการใช้งานสถานที่เหล่านั้นจนถึงปัจจุบัน สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติของภูฏานก็ยังมีอยู่มาก นักท่องเที่ยวสามารถที่จะเดินป่า ล่องเรือ เพื่อชื่นชมกับทัศนียภาพของภูฏานได้ การเข้าไปท่องเที่ยวในภูฏาน นักท่องเที่ยวต้องติดต่อกับบริษัททัวร์ เพื่อให้ดำเนินการขอ Visa โดยค่าใช้จ่าย ภูฏานกำหนดให้นักท่องเที่ยวต้องใช้จ่ายอย่างน้อย USD200 ต่อวัน
ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ สถานเอกอัครราชทูตภูฏาน 02-2744740-42
นางสาว ดาราวรรณ ชาตาสุ 5124408014

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีแสดงผลข้อมูล



skip to main skip to sidebar
เทคโนโลยีแสดงผลข้อมูล
เทคโนโลยีแสดงผลข้อมูล
หน่วยแสดงผล (Output Unit)หน่วยแสดงผลคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ

1. หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy)หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ


จอภาพ (Monitor)ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมาก เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (Pixel) ถ้ามีพิกเซลจำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือจอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากจอแอลซีดี (Liquid Crystal Display) นิยมใช้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา น้ำหนักเบาและกินไฟน้อยกว่าจอภาพซีอาร์ที แต่มีราคาสูงกว่า



อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector)เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน อุปกรณ์ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (OverHead Projector) ธรรมดา

อุปกรณ์เสียง (Audio Output)หน่วยแสดงเสียง ซึ่งประกอบขึ้นจาก ลำโพง (Speaker) และการ์ดเสียง (Sound card) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทำงาน หรือให้เครื่องคอมพิวเตอร์รายงานเป็นเสียงให้ทราบเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ





2.หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy)หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น เครื่องพิมพ์



1.เครื่องพิมพ์อักษร (Character printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ดีดที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งตัวอักษรเท่านั้น ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกสร้างขึ้นจากจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก จึงสามารถเรียกอีกอย่างว่า เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot matrix printer)


2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Non impact printer) ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี ซึ่งทำให้พิมพ์ได้เร็วและคมชัดกว่าชนิดตอก พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและกราฟฟิก รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถพิมพ์กระดาษสำเนา (Copy) ได้