วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

สรุปความสำเร็จของสำนักงานแห่งการเรียนรู้

ความสำเร็จของสำนักงานแห่งการเรียนรู้
ความสำเร็จที่เห็นได้ชัด คือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ใน
เรื่องความคิดและพฤติกรรม ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาปรับตัว
เพื่อความอยู่รอดทั้งนี้มีองค์ประกอบสำคัญของการก้าวสู่
ความสำเร็จของสำนักงานแห่งการเรียนรู้อยู่ 6 ประการ
ได้แก่

1. ภาวะผู้นำ (Leadership) มีบทบาท 3 ประการ
1.1 การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน
1.2 การออกแบบโครงสร้าง
1.3 ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้
2. โครงสร้างแนวนอน/เครือข่าย
( Horizontal/Network Structure)
3. การมอบอำนาจให้พนักงาน
( Employee Empowerment)
4. การแบ่งปันข้อมูล
(lnformation Sharing)
5. การกำหนดกลยุทธ์
(Emergent Strategy)
6. วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง
( Strong Culture)

ความหลากหลาย
(Diversity)
ความหลากหลายครอบคลุมทั้งในเรื่องของอายุ เพศ เชื้อ

ชาติ เผ่าพันธุ์ ผู้บริหารสำนักงานจึงต้องทำการบริการหรือ
จัดการความหลากหลายให้ได้ จึงจะเกิดประโยชน์อย่าง
แท้จริง ซึ่งต้องใช้ทั้งกลยุทธ์เฉพาะตัว เช่น การสร้าง
ความเข้าใจ ,การเห็นอกเห็นใจอย่างจริงใจ,ความเด็ดขาด,
ชอบธรรมและการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิผล เป็นต้น
การบริหารสำนักงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและคุณภาพ
ตามที่กำหนดเป้าหมายไว้

การบริหารสำนักงานในอนาคต
สำนักงานในอนาคตจะมีรูปร่างหรือลักษณะการทำงาน

อย่างไร ขึ้นกับองค์การและผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้นำ (Leader)

สำนักงานในอนาคต
ไม่ว่าลักษณะขององค์การหรือสำนักงานในอนาคตจะเป็น

อย่างไรก็ตามผู้บริหารควรพิจารณา ประเด็นสำคัญดังนี้
1. การเตรียมตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง คือ ผู้บริหารต้อง

คำนึงถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
2. สร้างองค์การใหม่ คือ โดยกำหนดเป้าหมายการสร้าง

วงจร บริการ กำไร
3. ออกแบบองค์การในทางปฏิบัติ คือ ใช้การออกแบบ

และพัฒนาปรับปรุงมาช่วย สิ่งที่ต้องคำนึงในการออกแบบ
คือ สายการบังคับ ,กระบวนการตัดสินใจ,ทีม และพนักงาน


การบริหารทรัพยากรมนุษย์
1. เป็นการลงทุนครั้งใหม่,ในทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งต้องมี
คุณค่าใหม่
2. ใช้เครื่องมือการจูงในใหม่ เช่น ภารกิจ การเรียนรู้ ชื่อ

เสียง การแข่งขัน คุณค่าของความคิด เป็นต้น
3. มีการพัฒนาและธรรมรงค์รักษาไว้อย่างดีที่สุด
4. สร้างความสำเร็จที่มนุษย์มุ่งหวังให้เกิดขึ้น
5. สร้างสถานการณ์ความเป็นผู้นำในสำนักงานมีหลากหลาย

รูปแบบ
6. มีการเรียนเพื่อพัฒนาตนเองต้องเป็นผู้นำไม่ใช่ผู้ตาม




สภาพแวดล้อมในการทำงาน
สภาพแวดล้อม
ภายในสำนักงานแบบใหม่ในอนาคตเช่นเดียว
กัน โดยมีข้อแนะนำดังนี้
1. สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นกับชีวิตการทำงานภายใน
สำนักงาน
2. สร้างองค์การที่มีสุขภาพ
3. ผลิตผลลัพธ์ทางสังคม โดยคำนึงถึงความคาดหวังทาง

สังคมและความสมดุลทางผลิตภาพ ที่ต้องการ

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

Reengineering

Reengineering คือ การพิจารณาหลักการพื้นฐานของกระบวนการทางธุรกิจ และการออกแบบ
ขึ้นใหม่อย่างถอนรากถอนโคน เพื่อมุ่งบรรลุผลลัพธ์ของการปรับปรุงอันยิ่งใหญ่ โดยใช้มาตรวัดผลการปฏิบัติงานที่ทันสมัย และที่สำคัญได้แก่ ต้นทุน คุณภาพ การบริการ และความรวดเร็ว

การรีเอ็นจิเนียริ่งองค์การ 5 ขั้นตอนของการรีเอ็นจิเนียริ่ง

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดสิ่งที่องค์การจำเป็นต้องทำ

ขั้นตอนที่ 2 สร้างสิ่งที่เป็นแบบจำลองของการบริหารงาน ซึ่งก็คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision)
ที่ค่อนข้างจะเป็นไปได้ในอนาคตและมีความชัดเจน

ขั้นตอนที่ 3 ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการหลักของการบริหารองค์การ ไม่ควรสร้างผังงานของกระบวนการ ปัจจุบันเพียงแต่มองและพิจารณา เท่านั้น

ขั้นตอนที่ 4 ออกแบบการนำกระบวนการใหม่

ขั้นตอนที่ 5 กระบวนการใหม่ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง

ธนาคารกรุงไทยรีเอ็นจิเนียริ่งสาขาในเดือนธันวาคมอีก 20 แห่ง


นายไพโรจน์ วโรภาษ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในเดือนธันวาคมนี้ธนาคารจะรีเอ็นจิเนียริ่งสาขาอีก 20 แห่ง โดยนำบริการอิเล็กทรอนิกส์ทางการเงินเข้ามาเสริม และปรับลดพนักงานจากเดิมที่มีอยู่สาขาละ 14-16 คน เหลือ 7-10 คน แต่ไม่มีนโยบายปลดพนักงาน โดยจะใช้วิธีเกลี่ยไปทำงานด้านอื่น

“จำนวนพนักงานสาขาของธนาคารกรุงไทยแต่ละแห่งจะใช้จำนวนเท่าไรจะขึ้นอยู่กับปริมาณของธุรกิจ และหากธุรกรรมมาก ก็จะใช้พนักงาน ประมาณ 20 คน แต่ต่อไปนี้ธนาคาร ไม่มีนโยบายที่จะเปิดสาขาเพิ่มเติม ในทางตรงกันข้ามธนาคาร จะมีการเปิดสาขาขนาดเล็กที่ให้บริการรับฝาก-ถอน และโอนเงินโดยใช้เครื่องมือบริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาให้บริการมากขึ้น”

ปัจจุบัน กรุงไทยมี 654 สาขา และรีเอ็นจีเนียริ่งไปแล้วกว่า 300 แห่ง ที่เหลือ 200 แห่ง จะทยอย รีเอ็นจีเนียริ่ง ซึ่งธนาคารมีแผนที่จะเปิดสาขาขนาดเล็ก รับฝากถอนและถอนเงินผ่านอิเล็คทรอนิกส์ ตามซูปเปอร์-มาร์เก็ตหรือสถานที่มีประชาชนใช้บริการเป็นจำนวนมาก "สาขาต้องมีการปรับใหม่เพื่อรับการแข่งขันในอนาคตที่จะมีความรุนแรงมากขึ้น" นายไพโรจน์กล่าว

--จบ--


Reference web site
http://www.ryt9.com/news/2000-11-22/23075366/






วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประเทศภูฎาน


สำหรับเมืองไทยเกิดกระแสภูฏานฟีเวอร์(อย่างรุนแรง)หลังเจ้าชายจิกมเเซอร์ นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรภูฏาน เสด็จมาเยือนประเทศไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ60ปีในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาสาวไทยหลายๆคนนอกจากจะกรี๊ดสลบแล้ว ยังฝันใฝ่อยากจะเที่ยวภูฏานสักครั้ง ซึ่งถึงแม้ว่าเจ้าชายจิกมีจะเสด็จกลับไปนานแล้วแต่กระแสการ(อยาก)ไปเที่ยวภูฏานของคนไทย(โดยเฉพาะสาวๆ)ก็ยังคงฮิตติดลมบนไม่สร่างซาในทริปนี้ผมจึงขอพาคุณผู้อ่านไปสัมผัสกับ ภูฏาน ดินแดนที่หลายๆคน ยกให้เป็นดัง"สวรรค์บนพื้นพิภพ"ที่หากใครได้ไปเยือนสักครั้งก็จะคงความประทับใจไปตราบนานเท่านาน..."ทิมพู"เมืองหลวงรวยความสุทิมพู(Thimpu)คือเมืองหลวงของภูฏานในปัจจุบัน(อยู่ห่างจากเมืองปาโรศูนย์กลางทางการบินหนึ่งเดียวของภูฏานประมาณ 65 กิโลเมตร) ที่พระเจ้าจิกมี ดอร์จิ วังชุก กษัตริย์องค์ที่ 3 ย้ายมาจากเมืองหลวงเก่าคือปูนาคา ในปี พ.ศ. 2495

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อทางการราชอาณาจักรภูฏาน (The Kingdom of Bhutan) ที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกเทือเขาหิมาลัย มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับธิเบต (สาธารณรัฐประชาชนจีน)และอาณาเขตด้านอื่นติดกับอินเดีย ไม่มีทางออกสู่ทะเล พรมแดนด้านติดต่อกับอินเดียความยาว 605 กิโลเมตร และ พรมแดนติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีนยาว 470 กิโลเมตร

ภูมิประเทศ
ประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อนมีพื้นที่ราบและทุ่งหญ้าระหว่างหุบเขาพื้นที่ต่ำสุดสูงกว่าระดับน้ำทะเล 970 ฟุต พื้นที่สูงสุดอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 17,553 ฟุต ภูมิอากาศสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันไปตามแต่ละภาคและระดับความสูงในพื้นที่ตอนบนด้านติดกับเทือกเขาหิมาลัยอากาศจะหนาวเย็นตลอดปีตอนกลางของประเทศอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว(ตุลาคม-มีนาคม)ค่อนข้าง
ร้อนในฤดูร้อน(เมษายน-กันยายน) ส่วนทางตอนล่างของประเทศซึ่งเป็นที่ ราบอากาศจะร้อนชื้น


ข้อมูลสำคัญ
1
. เป็นประเทศ Land Lock ไม่มีชายแดนติดกับทะเล
2. มีศักยภาพที่ดีในด้านการท่องเที่ยว
3. สนใจให้ไทยเข้าไปประมูลงานการสร้างถนนสาธารณูปโภค และสินค้าไทยได้รับความนิยมมากในภูฏา
4. ชาวภูฏานมีทัศนคติที่ดีกับไทย นิยมเดินทางมาไทยเพื่อจับจ่าย รักษาตัวและศึกษาในไทย
5. มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจเช่นเดียวกับไทย


สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
ภูฏานยังคงรักษารูปแบบทางวัฒนธรรมของตัวเองไว้ได้อย่างดี รัฐบาลรณรงค์ให้ชาวภูฏานใส่ชุดประจำชาติของตน ซึ่งสามารถเห็นชาวภูฏานใส่ชุดประจำชาติของตนเป็นชุดประจำวัน นอกจากนี้ สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์เช่น ป้อมโบราณ บ้านแบบโบราณ ยังคงมีอยู่ให้เห็นทั่วไป และมีการใช้งานสถานที่เหล่านั้นจนถึงปัจจุบัน สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติของภูฏานก็ยังมีอยู่มาก นักท่องเที่ยวสามารถที่จะเดินป่า ล่องเรือ เพื่อชื่นชมกับทัศนียภาพของภูฏานได้ การเข้าไปท่องเที่ยวในภูฏาน นักท่องเที่ยวต้องติดต่อกับบริษัททัวร์ เพื่อให้ดำเนินการขอ Visa โดยค่าใช้จ่าย ภูฏานกำหนดให้นักท่องเที่ยวต้องใช้จ่ายอย่างน้อย USD200 ต่อวัน
ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ สถานเอกอัครราชทูตภูฏาน 02-2744740-42
นางสาว ดาราวรรณ ชาตาสุ 5124408014

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีแสดงผลข้อมูล



skip to main skip to sidebar
เทคโนโลยีแสดงผลข้อมูล
เทคโนโลยีแสดงผลข้อมูล
หน่วยแสดงผล (Output Unit)หน่วยแสดงผลคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ

1. หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy)หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ


จอภาพ (Monitor)ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมาก เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (Pixel) ถ้ามีพิกเซลจำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือจอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากจอแอลซีดี (Liquid Crystal Display) นิยมใช้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา น้ำหนักเบาและกินไฟน้อยกว่าจอภาพซีอาร์ที แต่มีราคาสูงกว่า



อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector)เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน อุปกรณ์ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (OverHead Projector) ธรรมดา

อุปกรณ์เสียง (Audio Output)หน่วยแสดงเสียง ซึ่งประกอบขึ้นจาก ลำโพง (Speaker) และการ์ดเสียง (Sound card) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทำงาน หรือให้เครื่องคอมพิวเตอร์รายงานเป็นเสียงให้ทราบเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ





2.หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy)หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น เครื่องพิมพ์



1.เครื่องพิมพ์อักษร (Character printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ดีดที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งตัวอักษรเท่านั้น ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกสร้างขึ้นจากจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก จึงสามารถเรียกอีกอย่างว่า เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot matrix printer)


2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Non impact printer) ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี ซึ่งทำให้พิมพ์ได้เร็วและคมชัดกว่าชนิดตอก พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและกราฟฟิก รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถพิมพ์กระดาษสำเนา (Copy) ได้

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีแสดงผลข้อมูล

เทคโนโลยีแสดงผลข้อมูล
หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผลคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ

1. หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy)หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น หน่วยแสดงผลที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ








จอภาพ (Monitor)ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมาก เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (Pixel) ถ้ามีพิกเซลจำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือจอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากจอแอลซีดี (Liquid Crystal Display) นิยมใช้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา น้ำหนักเบาและกินไฟน้อยกว่าจอภาพซีอาร์ที แต่มีราคาสูงกว่า











อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector)เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน อุปกรณ์ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (OverHead Projector) ธรรมดา









อุปกรณ์เสียง (Audio Output)หน่วยแสดงเสียง ซึ่งประกอบขึ้นจาก ลำโพง (Speaker) และการ์ดเสียง (Sound card) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทำงาน หรือให้เครื่องคอมพิวเตอร์รายงานเป็นเสียงให้ทราบเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ











2.หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy)หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น เครื่องพิมพ์









1.เครื่องพิมพ์อักษร (Character printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ดีดที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งตัวอักษรเท่านั้น ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกสร้างขึ้นจากจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก จึงสามารถเรียกอีกอย่างว่า เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot matrix printer)


2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Non impact printer) ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี ซึ่งทำให้พิมพ์ได้เร็วและคมชัดกว่าชนิดตอก พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและกราฟฟิก รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถพิมพ์กระดาษสำเนา (Copy) ได้

http://ton55.blogspot.com/2008_07_01_archive.html

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีของอาคารอัจฉริยะ

เทคโนโลยีอาคารอัจริยะ




เป็นการผสมผสานการทำงานของระบบต่างๆ ระหว่าง ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (office automation) ระบบสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication)และระบบอาคารอัตโนมัติ (Building automation)






1. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (office automation)



เป็นระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะเป็นระบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล นำมาเชื่อมต่อการทำงานเข้าด้วยกันจนกลายเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)






2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication)




ระบบที่สองนี้ นับเป็นหัวใจหลักประการหนึ่งของระบบอาคารอัจฉริยะ ก็ว่าได้สำหรับระบบสื่อสารภายในอาคารอัจฉริยะ จะมีความล้ำหน้ากว่าอาคารสำนักงานโดยทั่วๆ ไป (ที่มีเพียงการสื่อสารด้วยโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว)








3. ระบบอาคารอัตโนมัติ (Building automation)



ระบบอาคารอัตโนมัติ เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของอาคารโดยตรง แบ่งเป็นระบบควบคุม อาคารระบบรักษาความปลอดภัย การจัดสภาพแวดล้อมในอาคาร และระบบโครงสร้างอาคาร ซึ่งควบคุมการทำงานโดยคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น





วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สรุปหลักเกณฑ์การพิจารณาและตัดสินใจในการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้

เมื่อพิจารณาถึงผลประโยชน์ ความหรูหรา และทันสมัยของสำนักงานอัตโนมัติแล้ว การตัดสินใจนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้นั้นจะสร้างระบบสำนักงานอัตโนมัติคงต้องเป็นหน้าที่ของบุคคลดังต่อไปนี้
1.ผู้ขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มักจะให้บริการด้านการให้คำปรึกษาหรือเป็นผู้จัดตั้งระบบโดยไม่คิดมูลค่า
2.ทีมงานเฉพาะกิจของบริษัท บริษัทที่ต้องการมีสำนักงานอัตโนมัติอาจจัดตั้งทีมงานขึ้นมาเองเพื่อทำการวิจัยด้านนี้โดยเฉพาะและควรมีพนักงานที่มีความชำนาญด้านการจัดการข้อมูล
3.ที่ปรึกษา บางบริษัทไม่มีพนักงานที่มีความชำนาญพอที่จะจัดตั้งทีมงานขึ้นเองได้ก็จะต้องอาศัยที่ปรึกษาภายนอกบริษัท
4.ทีมงานเฉพาะกิจร่วมกับที่ปรึกษา